ทำไมถึงเพิ่มขึ้นมาก? ก็เพราะปัจจุบันการรักษาดีมากขึ้นอายุของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังก็ยืนยาวขึ้นหลาย 10 ปี ดังนั้นผู้ป่วยจึงสะสมมากขึ้นเรื่อยๆจนน่าตกใจ
โรคไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 5 ระยะ ตามอัตราการทำงานของไต (Estimated Glomerular filtration rate/eGFR)
นิยมอ่านว่า "จี-เอฟ-อาร์" (ไม่เชื่ออย่าลบหลู่มีคนอ่านว่า "เจิฟ" 0.0)
ย่อมาจาก glomerular filtration rate
glomerular = ตัวกรองของไต
filtration rate = อัตราการกรอง
รวมกัน = อัตราการกรองของไต
ดั้งนั้น GFR ต่ำก็แปลว่า "ไตเสื่อม" ครับ!
หาได้หลายวิธีแต่วิธีที่ง่ายคือเอาค่า Cr มาใส่สูตร
กดสูตรที่นี่ครับ
"สูตรคำนวน GFR" GFR นี้มีประโยชน์มากๆๆๆ
โดยเฉพาะการแบ่งระดับความเสื่อมไต
ทำให้ใช้เป็นแนวทางการดูแลและรักษาได้อย่างดี!
แบ่งระดับความเสื่อมไตอย่างไร???
แบ่ง 5 ระดับดังนี้
ขั้น 1: GFR มากกว่า 90 = ปกติ
ขั้น 2: GFR 60-90 = เสียนิดหน่อย
ขั้น 3: GFR 30-59 = เสียพอดู...ต้องดูแลใกล้ชิด
ขั้น 4: GFR 15-29 = อีกนิดเดียวเจอกันที่ล้างไต!
ขั้น 5: GFR น้อยกว่า 15 = มาล้างไตกันเถอะพวกเรา
ในกรณียังไม่ถึงขั้น 5 การดูแลสุขภาพ และการเลือกกินอาหาร ออกกำลังกาย รวมทั้งพบแพทย์สม่ำเสมอจะทำให้ท่านไม่ต้อง "ล้างไต" !!!
โดยโรคไตเรื้อรังระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการ เรียกได้ว่าเหมือนคนปกติแทบทุกประการเลยทีเดียว ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีการเสื่อมของไตมากขึ้นโดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 จะเริ่มมีอาการหลายๆอย่างเป็นลางบอกเหตุ ได้แก่
อาการไตวายเรื้อรัง
โลหิตจาง/ซีด
ภาวะความดันโลหิตสูง
มีความผิดปกติของสมดุลน้ำและเกลือแร่
มีการคั่งของของเสีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม
มีภาวะน้ำท่วมปอด
ปัสสาวะออกน้อยลง
มีอาการอ่อนเพลีย
หอบเหนื่อย
คลื่นไส้อาเจียน
ไม่อยากอาหาร
มีอาการซึม หรืออาการชัก
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบว่า เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
จากข้อมูลทางสถิติทำให้คาดการณ์ได้ว่าปัจจุบันมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะที่ 3 เป็นต้นไป ประมาณ 5.5 ล้านคน (คนไทยมีประมาน 70 ล้านคน แปลว่า 100 คนจะเป็น ประมาน 8 คนซึ่งนับได้ว่ามากมายมหาศาลทีเดียว)