สารเมลาโทนิน หยุดอัลไซเมอร์
หยุดอัลไซเมอร์ก่อนสาย ด้วย ‘เมลาโทนิน' โดย ศ.เกียรติคุณ ดร. ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ ศาตราจารย์ดีเด่นที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว.
เผยในรายการเก่าไม่แก่ว่า เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนของมนุษย์ที่สร้างและหลั่งมาจากต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางสมองเมลาโทนินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การสร้าง เมลาโทนิน จะสร้างในช่วงที่อายุยังน้อย จนกระทั่งเวลาที่อายุมากขึ้นก็จะสร้างได้น้อยลง ระดับเมลาโทนินของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะต่ำกว่าผู้สูงอายุในวัยเดียวกัน และต่ำกว่าผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อมทั่วไป
ปกติระดับเมลาโทนินในน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ลดลงก่อนที่จะแสดงอาการ ทำให้ระดับของเมลาโทนินในน้ำไขสันหลังอาจเป็นตัวบ่งชี้การเกิดโรคอัลไซเมอร์ในช่วงแรกๆ นอกจากจะพบเมลาโทนินระดับต่ำแล้วระดับของเมลาโทนินยังไม่แสดงตามวัฏจักรประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่สามารถนอนหลับเหมือนคนปกติ
เราจึงจับเมลาโทนินขึ้นมาศึกษา จากข้อมูลที่ว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มฮอร์โมนเมลาโทนินน้อยลง คณะวิจัยของพวกเราจึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่พบว่า เมลาโทนินสามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ได้ ทั้งในเซลล์เพาะเลี้ยงและในสมองสัตว์ทดลอง
เช่น
3.การติดสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้
และ
กลุ่มคนที่มีการนอนผิดปกติ...การนอนจำเป็นมากที่เราควรรีบแก้ไข การนอนที่ดีจะมี cycle ของตัวมันเองอันเป็นธรรมชาติ เราจะผ่อนคลาย หัวใจเต้นช้าลง เราก็จะสงบ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง การนอนเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองจะเก็บเกี่ยวการเรียนรู้ต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบ เพราะฉะนั้นคนที่นอนเป็นระบบมักมีความทรงจำดี ในช่วงเวลานี้สมองจะทำการเก็บกวาดขยะอย่างเบตาอะมีลอยด์ การนอนหลับหรือให้เมลาโทนินทดแทนมีส่วนช่วยกระตุ้นสร้างเซลล์ประสาทใหม่ และซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่ตายไประหว่างเป็นโรค ลดเอ็นไซม์ที่สร้างสารที่เป็นพิษซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคสมองเสื่อมอีกด้วย
เด็กรุ่นใหม่ต้องนอนให้เป็นจังหวะ ไม่ใช่เกิดอยากนอนตอนไหนก็ได้จนผิด cycle ของมัน เพราะ biological clock ในร่างกายของพวกเราถูกควบคุมโดยยีนอีกชุดหนึ่งซึ่งเราเรียกว่าเป็น clock genes หรือว่าเป็นยีนที่ควบคุมเวลา clock genes นี้จะส่งเป็นกระแสประสาทเข้าไปที่ต่อมไพเนียล สั่งให้ต่อมไพเนียลสร้างเมลาโทนินเป็นจังหวะ กลางคืนก็สร้างไป กลางวันหยุด ร่างกายเราอาศัยสมดุลเหล่านี้เป็นสำคัญ
เผยในรายการเก่าไม่แก่ว่า เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนของมนุษย์ที่สร้างและหลั่งมาจากต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งอยู่บริเวณกึ่งกลางสมองเมลาโทนินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ การสร้าง เมลาโทนิน จะสร้างในช่วงที่อายุยังน้อย จนกระทั่งเวลาที่อายุมากขึ้นก็จะสร้างได้น้อยลง ระดับเมลาโทนินของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะต่ำกว่าผู้สูงอายุในวัยเดียวกัน และต่ำกว่าผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อมทั่วไป
ปกติระดับเมลาโทนินในน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ลดลงก่อนที่จะแสดงอาการ ทำให้ระดับของเมลาโทนินในน้ำไขสันหลังอาจเป็นตัวบ่งชี้การเกิดโรคอัลไซเมอร์ในช่วงแรกๆ นอกจากจะพบเมลาโทนินระดับต่ำแล้วระดับของเมลาโทนินยังไม่แสดงตามวัฏจักรประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่สามารถนอนหลับเหมือนคนปกติ
เราจึงจับเมลาโทนินขึ้นมาศึกษา จากข้อมูลที่ว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มฮอร์โมนเมลาโทนินน้อยลง คณะวิจัยของพวกเราจึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่พบว่า เมลาโทนินสามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ได้ ทั้งในเซลล์เพาะเลี้ยงและในสมองสัตว์ทดลอง
จึงเป็นที่คาดหวังว่าคนไข้อัลไซเมอร์ที่เซลล์ประสาทถูกทำลายไป ถ้าได้รับเมลาโทนินจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถกระตุ้นให้สร้างเซลล์ประสาทใหม่ขึ้นมาทดแทนซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและปลอดภัยกว่าวิธีอื่นๆ
ดังนั้นเราจึงมาศึกษาว่ามีปัจจัยบวก-ลบอะไรบ้างที่จะมาเสริมสร้าง หรือทำลายสมอง ที่ง่ายๆก็คือพฤติกรรมการบริโภคเช่น
1.คนหนุ่ม-สาว รับประทานอาหารที่มีไขมัน มีแคลอรี่สูง ซึ่งนำไปสู่โรคเบาหวาน เราก็ทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองให้เป็นเบาหวาน
และมาเรียนรู้ว่า สัตว์ทดลองนั้นมีความจำมีการเรียนรู้อย่างไรปรากฏว่า หนูทดลองกลุ่มที่เป็นเบาหวานและให้เมลาโทนีน มีความจำและการตอบสนองดีกว่า หนูทดลองที่เป็นเบาหวานธรรมดา จากนั้นนำสมองของหนูทอดลองทั้งสองชนิดมา ทำการทดลองพบว่า สมองของหนูที่เป็นเบาหวานธรรมดามีสารพิษเกิดขึ้น ส่วนหนูที่ไม่มีเมลาโทนิน ไม่มีสารพิษเป็นสิ่งทำให้เรารู้ว่าเมลาโทนีนเป็นส่วนช่วย
3.การติดสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนที่มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางได้
และ
กลุ่มคนที่มีการนอนผิดปกติ...การนอนจำเป็นมากที่เราควรรีบแก้ไข การนอนที่ดีจะมี cycle ของตัวมันเองอันเป็นธรรมชาติ เราจะผ่อนคลาย หัวใจเต้นช้าลง เราก็จะสงบ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง การนอนเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองจะเก็บเกี่ยวการเรียนรู้ต่างๆ ให้เป็นระบบระเบียบ เพราะฉะนั้นคนที่นอนเป็นระบบมักมีความทรงจำดี ในช่วงเวลานี้สมองจะทำการเก็บกวาดขยะอย่างเบตาอะมีลอยด์ การนอนหลับหรือให้เมลาโทนินทดแทนมีส่วนช่วยกระตุ้นสร้างเซลล์ประสาทใหม่ และซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่ตายไประหว่างเป็นโรค ลดเอ็นไซม์ที่สร้างสารที่เป็นพิษซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคสมองเสื่อมอีกด้วย
เด็กรุ่นใหม่ต้องนอนให้เป็นจังหวะ ไม่ใช่เกิดอยากนอนตอนไหนก็ได้จนผิด cycle ของมัน เพราะ biological clock ในร่างกายของพวกเราถูกควบคุมโดยยีนอีกชุดหนึ่งซึ่งเราเรียกว่าเป็น clock genes หรือว่าเป็นยีนที่ควบคุมเวลา clock genes นี้จะส่งเป็นกระแสประสาทเข้าไปที่ต่อมไพเนียล สั่งให้ต่อมไพเนียลสร้างเมลาโทนินเป็นจังหวะ กลางคืนก็สร้างไป กลางวันหยุด ร่างกายเราอาศัยสมดุลเหล่านี้เป็นสำคัญ
รับชมคลิปเต็มๆ
VVV
V
V
VV
V
V
VVVV
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!