น้ำหนักเยอะ ใช้เข่าผิดวิธี ระวังข้อเข่าเสื่อม


น้ำหนักเยอะ ใช้เข่าผิดวิธี ระวังข้อเข่าเสื่อม

ใครจะคิดว่า น้ำหนักตัวมาก ใช้ข้อเข่ามาก ด้วยท่าทางที่ผิดวิธี จะเป็นที่มาของการเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติได้ เพราะเชื่อเถอะว่า คนโดยส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่าข้อเข่าเสื่อมมีที่มาจากอายุที่มากขึ้นเท่านั้น


ดังนั้น เมื่อเรารู้แล้วว่า ข้อเข่าเสื่อมเกิดได้จากหลายปัจจัย คงถึงเวลาแล้วที่จะหันมาดูแลข้อเข่าของตนเอง และควรจะทำเช่นไรล่ะ จึงจะช่วยลดโอกาสการเกิดปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้บ้าง? แล้วอาการแบบใดถึงจะเรียกว่ามีปัญหาและต้องไปพบแพทย์? ถ้าเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร? ไปทำความเข้าใจกันแบบเอ็กคลูซีฟกับศ.นพ.กีรติ เจริญชลวานิช แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ โรงพยาบาลพญาไท 3 พร้อมกันเลย

ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคของผู้สูงอายุเท่านั้นจริงหรือ
ข้อเข่าเสื่อม (Primary OA knee) ที่ผ่านมามักพบโรคนี้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งมีที่มาจากความเสื่อมตามวัย แต่ปัจจุบันสามารถพบได้ในคนอายุน้อยขึ้น เช่น พบในวัยกลางคน ซึ่งมีที่มาจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักตัวมาก การใช้ข้อเข่ามากเกินไป หรือใช้ผิดท่า ผิดวิธี นั่นจึงเป็นที่มาของข้อเข่าเสื่อมเร็วกว่าปกติ

โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากความเสื่อมกระดูกอ่อนของผิวข้อเข่า พอไม่มีผิวกระดูกอ่อนมาห่อหุ้ม เนื้อกระดูกที่มาชนกันขณะรับน้ำหนักจึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า เกิดได้จากทั้งแบบที่ทราบสาเหตุ (Secondary Knee Osteoarthritis) และไม่ทราบสาเหตุ (Primary Knee Osteoarthritis)

ความเสื่อมแบบที่ไม่ทราบสาเหตุ มาจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย เช่น
อายุ:อายุมากขึ้นโดยเฉลี่ยอายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป จะเริ่มมีข้อเสื่อม อายุ 55 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีอาการปวดเข่า เข่าเสื่อม และอายุ 60 ปี จะเป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40
เพศ :เพศหญิงจะมีโอกาสข้อเข่าเสื่อมได้เร็วกว่าเพศชาย

กรรมพันธุ์ :คนไข้ที่มีคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม มีโอกาสที่จะเป็นข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น แต่ทั้งนี้ไม่มีความสัมพันธ์โดยตรงในลักษณะของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
น้ำหนักตัวที่เกิน :จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เพราะจะมีการลงน้ำหนักที่เข่ามาก

การใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก:การใช้หัวเข่าผิดท่า หรือใช้อยู่ในท่าที่ต้องใช้ข้อเข่าเป็นเวลานาน อาทิ การยืนนานๆ ยกของหนัก ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ นั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ เป็นต้น
ปัญหาจากข้อ : ข้อเข่าหลวม กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง

ความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ (Secondary Knee Osteoarthritis) : โรคบางชนิด เช่น เก๊าท์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อเข่าติดเชื้อ ข้ออักเสบชนิดต่างๆ เคยเกิดอุบัติเหตุที่เกิดแรงกระแทก โดยเฉพาะในผู้ที่เกิดอุบัติเหตุที่ข้อ เส้นเอ็น

...เห็นไหมล่ะครับ ว่าข้อเข่าเสื่อมไม่ใช่ปัญหาของผู้สูงอายุเท่านั้น...

สัญญาณหรืออาการที่บอกว่าคุณกำลังมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเสื่อมมักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยมี 4 ระดับ

ระดับที่ 1 ยังคงทำงานทุกอย่างได้ตามปกติ

ระดับที่ 2 ทำงานหนักไม่ได้

ระดับที่ 3 ทำกิจวัตรประจำวันได้

ระดับที่ 4 เดินไม่ไหวแล้ว จากทั้ง เราจะเห็นว่าระยะที่ 1 ยังใช้ชีวิตได้ปกติ นั่นจึงเป็นจุดหนึ่งที่ทำให้เกิดการละเลยข้อเข่า

ดังนั้น เรามาดูกันว่ามีข้อสังเกตง่าย ๆ อะไรบ้างที่จะเป็นตัวบอกว่าคุณต้องใส่ใจดูแล หรือรับการรักษาข้อเข้าได้แล้ว

* ปวดเข่า มีอาการปวดเข่าบ่อยเมื่อเคลื่อนไหว อย่างการเดินขึ้นหรือลงบันได นั่งพับเพียบ และอาการดีขึ้นเมื่อหยุดพักจะลดลงหลังจากการพัก ซึ่งอาการอาจจะเป็นๆ หายๆ แต่เป็นติดต่อกันมากกว่า 6 เดือน

* ข้อเข่าติด หรือฝืด มักพบหลังจากตื่นนอน หรือหลังจากที่ร่างกายหยุดเคลื่อนไหวระยะหนึ่ง ซึ่งจะรู้สึกว่าข้อเข่าฝืดตึง เข่าติด เคลื่อนไหวลำบากซักพัก และจะค่อยๆ ดีขึ้น

* มีเสียงในข้อเข่า เมื่อข้อเข่าเริ่มเสื่อมจะมีเสียงจากในข้อเข่า ขณะเคลื่อนไหวอย่างการเหยียด หรืองอเข่า เป็นต้น

* เสียวหัวเข่า บวม ร้อน กดเจ็บ เวลาเดิน เคลื่อนไวรู้สึกเสียวในข้อเข่า บางคนยังพบว่าเข่ามีอาการบวม เมื่อสัมผัสจะรู้สึกเข่าอุ่น รู้สึกเจ็บมากขึ้นเมื่อกดตรงข้อเข่า

* ข้อเข่าโก่งงอ ต้นขาลีบ ข้อเข่าผิดรูป ลักษณะเหล่านี้คือจุดสังเกตว่ามีความเสื่อมที่ชัดเจน อาจมีการโก่งงอด้านนอกหรือโก่งด้านใน ต้นขาลีบบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ขาสั้นลง จึงมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ

การสังเกตอาการข้อเข่าเสื่อมของตนเอง เป็นอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะสามารถดูแลใส่ใจและรับการรักษาได้อย่างเหมาะสม เพราะหากมีความเสื่อมในระดับที่ 1 นั่นหมายความว่าคุณสามารถดูแลตัวเองด้วยการปรับพฤติกรรมได้ โดยใช้ท่าทางการยืน เดิน นั่งให้ถูกสุขลักษณะ หากอยู่ในระยะที่ 2-4 ควรพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ ไม่เพียงจุดสังเกตข้างต้นที่บอกว่าคุณต้องดูแลข้อเข่า แต่ยังมีลักษณะการปวดบางอย่างที่เป็นสัญญาณที่บอกว่าคุณต้องไปพบแพทย์ได้แล้วนะ...นั่นก็คือ เมื่อปวดเข่ารุนแรง แม้จะอยู่เฉยๆ ปวดหัวเข่าและมีอาการบวมช้ำ เป็นสัญญาณว่ามีการอักเสบรุนแรง ปวดร้าวลงขา งอเข่าได้ไมสุด

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมทำได้หลายวิธี ได้แก่
1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและไม่ใช้ยา เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย การใช้ข้ออย่างถูกต้อง
2.กายภาพบำบัด เช่น การทำอัลตราซาวนด์ การใช้เลเซอร์รักษา
3.การใช้ยา มีทั้งแบบรับประทาน หรือแบบฉีด
4.การรักษาโดยการผ่าตัด มีหลายวิธี ดังนี้

การผ่าตัดเพื่อให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน (Arthrodesis)
การผ่าตัดปลี่ยนข้อเข่า (Arthroplasty)
การตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)
การผ่าตัดรักษาเป็นแนวทางที่แพทย์จะเลือกใช้เมื่อการรักษาด้วยวิธีปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำกายภาพบำบัด และรักษาด้วยยาแต่อาการไม่ดีขึ้น หรือมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด แพทย์จึงจะประเมินและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมร่วมกับคนไข้ เพราะทุกการรักษามุ่งหวังให้คนไข้หายจากอาการปวด สามารถกลับมาเดิน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกครั้ง



เครดิตแหล่งข้อมูล :
phyathai3hospital


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์