เตือนคนขี้เกียจแปรงฟัน ระวังโรคหัวใจ-สมองเสื่อมถามหา


เตือนคนขี้เกียจแปรงฟัน ระวังโรคหัวใจ-สมองเสื่อมถามหา


เดอะซันรายงาน จากการสำรวจผู้ใหญ่ 2,000 คน พบว่า 3 ใน 10 คนละเลยดูแลช่องปากในขณะช่วงล็อกดาวน์ต่าง ๆ และร้อยละ 36 กล่าวว่าการไม่ทำกิจวัตรประจำวันแบบปกติก่อนเกิดโรคระบาด หมายความว่าพวกเขาลืมแปรงฟันให้บ่อยเท่าที่ควร ส่วนอีก 28 เปอร์เซ็นต์เผยว่ามีปัญหาด้านสุขภาพอื่น ๆ ดังนั้น สุขภาพช่องปากไม่ใช่สิ่งจำป็นส่งผลให้หลาย ๆ คนไม่เปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ หกเดือนและไม่แปรงฟันมากกว่า 3 วัน

ผลการศึกษายังพบว่าเกือบ 3 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (28 เปอร์เซ็นต์) ไม่ทราบว่าภาวะในช่องปากสามารถนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพในวงกว้างได้ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว มีการแปรงฟัน 93 วินาทีในแต่ละครั้ง

ดร.อเล็กซ์ จอร์จ ผู้ซึ่งทำงานร่วมกับคอลเกต โททัล สำหรับแคมเปญ #HappyHabits กล่าวว่า "ปากของคุณเป็นประตูสู่สุขภาพโดยรวมของคุณ ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาเหงือก, ฟันผุ, ฝีในฟัน, อาการเสียวฟัน หรือการสะสมของคราบจุลินทรีย์อย่างรุนแรง มีความเชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ และแม้กระทั่งภาวะสมองเสื่อม"


เตือนคนขี้เกียจแปรงฟัน ระวังโรคหัวใจ-สมองเสื่อมถามหา


ผลศึกษาของมหาวิทยาลัยโตรอนโตระบุว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยงระหว่างโรคเหงือกและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคหัวใจ ภาวะสมองเสื่อมบางรูปแบบ และโรคเบาหวาน ตามข้อมูลของ Harvard Health โรคเหงือกมีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงของโรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมองมากกว่าสองถึงสามเท่า ซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคบางชนิดอาจเนื่องมาจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อการติดเชื้อ

นักวิจัยพบว่าการปรากฏตัวของโรคเหงือกยังเพิ่มการปรากฏตัวของนิวโทรฟิลหรือเม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นเพื่อต่อสู้กับแบคทีเรียในปากโดยเอ็นไซม์ ไม่เพียงแต่ทำลายแคทีเรีย ยังสามารถกัดกร่อนเนื้อฟันที่ได้รับความเสียหายจากแบคทีเรียไปแล้ว ซึ่งอาจเพิ่มฟันผุได้

ไมเคิล โกลเกาเออร์ ผู้เขียนอาวุโสของการศึกษาวิจัยและหัวหน้าทันตแพทย์ที่ University Health Network กล่าวว่า นิวโทรฟิลหรือเม็ดเลือดขาว มีแนวโน้มที่จะปล่อยไซโตไคน์เร็วกว่ามาก ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงลบ ทั่วร่างกายปรากฏการเพิ่มของเซลล์เหล่านี้ เพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้ออื่น ๆ


เตือนคนขี้เกียจแปรงฟัน ระวังโรคหัวใจ-สมองเสื่อมถามหา


ศาสตราจารย์ โยอาว์ ไฟเนอร์ ผู้เขียนนำการศึกษาปี 2019 และประธาน George Zarb/Nobel Biocare ด้านทันตกรรมประดิษฐ์ที่คณะทันตแพทยศาสตร์บอกกับ UofT News ว่า "มันเหมือนกับว่าเมื่อคุณเอาค้อนขนาดใหญ่ฟาดแมลงวันบนผนัง นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อนิวโทรฟิลต่อสู้กับผู้บุกรุก ซึ่งการปรากฏตัวของแบคทีเรียในปากก็มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของนิวโทรฟิลในเลือด ลำไส้ใหญ่ และเยื่อบุช่องท้อง นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มขึ้นของนิวโทรฟิลในไขกระดูก บ่งชี้ว่าร่างกายเพิ่มการผลิตเซลล์เหล่านี้เพื่อตอบสนองต่อโรคเหงือก"

จากนั้นนักวิจัยทำการศึกษาว่า นิวโทรฟิลมีผลเชื่อมโยงกับมนุษย์อย่างไร อาสาสมัครถูกขอให้ไม่แปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟันเป็นเวลา 3 สัปดาห์เพื่อทำให้เกิดการอักเสบของเหงือก มีการเก็บเลือดและน้ำลายเป็นระยะตลอดการศึกษานี้ ผลลัพธ์สรุปว่าปรากฏตัวของนิวโทรฟิลเพิ่มขึ้นในช่วงที่ไม่มีการแปรงฟัน จากนั้นก็เริ่มสลายไปเมื่ออาสาสมัครกลับมาปฏิบัติตามกิจวัตรด้านสุขอนามัยในช่องปาก ด้วยเหตุนี้การดูแลช่องปากจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ทางด้านดร.โมนิก วาสันต์ ทันตแพทย์จากลอนดอน กล่าวว่า "ปัจจัยทางสังคมที่อยู่รอบๆ การระบาดของไวรัสครั้งใหญ่ส่งผลให้สุขภาพช่องปากของผู้คนจำนวนมากลดลง หลายคนไม่รู้หรอกว่าการไม่แปรงฟันวันละสองครั้ง แม้เพียงสองสัปดาห์ อาจส่งผลให้เกิดการสะสมของคราบหินปูนหรือหินน้ำลายที่ส่งผลกระทบได้ยาวนาน ซึ่งเราเห็นว่าสิ่งนี้มีการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่นำเสนอ ด้วยโรคเหงือกและฟันผุ"


เตือนคนขี้เกียจแปรงฟัน ระวังโรคหัวใจ-สมองเสื่อมถามหา


"เพื่อให้สุขภาพช่องปากกลับมาเป็นปกติได้ เราขอแนะนำให้แปรงฟันวันละสองครั้งเป็นเวลา 2 นาที เปลี่ยนแปรงหรือหัวแปรงทุก ๆ สามเดือน และทำความสะอาดระหว่างแปรงสีฟันสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ให้ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์ที่มีส่วนผสมต้านเชื้อแบคทีเรียที่ดูแลทั้งปาก ไม่ใช่แค่ฟัน"

"ร่างกายที่แข็งแรงเริ่มต้นด้วยปากที่แข็งแรง และความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนให้กิจวัตรด้านสุขอนามัยในช่องปากที่ดีขึ้น ขอย้ำอีกครั้ง สุขภาพช่องปากที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน ไม่ใช่ที่คลินิกหมอฟัน"



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์