ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร


ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร

    โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่พบได้บ่อย และก่อให้เกิดความรำคาญและทุกข์ทรมานจากอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ ในบางรายอาจมีอันตรายจากโรคแทรกซ้อน เช่น การตกเลือดในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะทะลุ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร โดยบริเวณที่พบอาจเกิดแผลในกระเพาะ (Gastric Ulcer) หรือแผลบริเวณลำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenal Ulcer) และด้วยสาเหตุการเกิดโรคที่คล้ายกัน จึงมักจะเรียกรวมๆ กันว่า "โรคแผลในกระเพาะอาหาร" (Peptic Ulcer)

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

1.การติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโรไล (H.pylori) เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร คิดเป็นสัดส่วน 60% ของสาเหตุทั้งหมด

2.กรดในกระเพาะมากขึ้นทำให้เกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย

3.การทำลายเยื่อบุกระเพาะ เช่น จากยาแอสไพริน ยาแก้ปวดกระดูก หรือการดื่มสุรา


อาการของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

1.มีอาการปวดท้องบริเวณยอดอกหรือลิ้นปี่

2.มีอาการจุก เสียด แน่น เจ็บแสบหรือร้อน อาการจะสัมพันธ์กับการกินหรือชนิดของอาหาร บางรายอาจมีอาการปวดท้องตอนกลางคืน

3.ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการโรคแทรกซ้อน เช่า อาเจียนเป็นเลือด

แบคทีเรียร้ายในกระเพาะอาหาร เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobactor pylori) คืออะไร
1.เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้มีความทนกรดสูง จึงสามารถอาศัยอยู่ในชั้นผิวเคลือบภายในกระเพาะอาหารได้

2.สามารถสร้างสารพิษไปทำลายเซลล์เยื่อบุผิวของกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร เป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร

3.การศึกษาวิจัยจากสมาคมแพทย์และองค์การอนามัยโลกพบว่าเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ เป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen group1) ทำให้ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารมีโอกาสเกิดโรคมะเร็งของกระเพาะอาหาร มากกว่าคนปกติ 3-6 เท่า

การตรวจหาเชื้อ Helicobactor Pylori สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

1.โดยวิธีการส่องกล้องเพื่อตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy)

2.การตรวจหา H. Pylori โดยตรวจสอบจากลมหายใจ

3.การตรวจเลือด เพื่อหาภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อ

จากการวิจัยขององค์การอาหารและยา พบว่าประสิทธิภาพของการตรวจแต่ละวิธี แตกต่างกันดังนี้

ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร


วิธีการรักษาเพื่อกำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร


1.การรับประทานยายับยั้งการหลั่งกรด นาน 6-8 สัปดาห์ ร่วมกับยาปฎิชีวนะ นานถึง 1-2 สัปดาห์

2.หลังจากหยุดยา 4 สัปดาห์ ให้ผู้ป่วยกลับมาตรวจหาเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร อีกครั้งหนึ่ง

ขั้นตอนการตรวจ - รักษา โดยรวม
-หาสาเหตุการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหาร
-ตัดชิ้นเนื้อ → ตรวจสอบลมหายใจ → หาภูมิคุ้มกัน
-หากตรวจพบการติดเชื้อ รักษาด้วยยาลดกรดและยาปฎิชีวนะ
-กลับมาตรวจซ้ำ เพื่อยืนยันการรักษา

หลักการสำคัญของการตรวจเชื้อ H.Pylori ในกระเพาะอาหาร ด้วยการทดสอบลมหายใจ
เชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (H.Pylori) สามารถผลิตเอนไซม์ Urea ได้ ดังนั้นการวินิจฉัยจึงให้ผู้ป่วยรับประทานยา Urea ที่เคลือบ 13C หากผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อ H.Pylori จะเกิดการย่อยเม็ดยา ได้แอมโมเนีย (NH3) ออกมากับปัสสาวะ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (13CO2) ออกมากับลมหายใจ โดยโรงพยาบาลจะเก็บตัวอย่างลมหายใจของผู้ป่วยเพื่อนำไปวิเคราะห์ผลต่อไป

การตรวจหาการติดเชื้อ Helicobacter Pylori ในกระเพาะอาหาร โดยวิธี 13 C-Urea Breath Test


การเตรียมตัวผู้ป่วย

1.งดอาหารและเครื่องดื่ม ก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง

2.งดอาหารที่มีสารยูเรีย (urea) เช่น แอลกอฮอล์ น้ำอ้อย น้ำสับปะรด

3.งดการสูบบุหรี่

4.งดยาฆ่าเชื้อ (antibiotics) และ ยาลดการหลั่งกรดกลุ่ม PPI (เช่น omeprazole, esomeprazole , dexlanzoprezole) และยาลดการหลั่งกรดกลุ่ม P-CABs (เช่น vonoprazan) ก่อนการตรวจอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตามคำสั่งแพทย์

ขั้นตอนในการตรวจ13 C-Urea Breath Test

ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร

1.เป่าลมหายใจ ลงในถุงตัวอย่าง (Bag no.1) ก่อนทานเม็ดยา UBiT จนเต็มถุง

2.กลืนเม็ดยา UBiT (ภายใน5วินาที) พร้อมดื่มน้ำ 1 แก้ว (100 มิลลิลิตร) ห้ามเคี้ยวหรืออมเม็ดยา

3.นอนตะแคงด้านซ้าย เป็นเวลา 5 นาที

4.เปลี่ยนเป็นท่านั่ง เป็นเวลา 15 นาที

5.เมื่อครบ 20 นาที หลังทานเม็ดยา UBiT แล้วเป่าลมหายใจลงในถุงตัวอย่างใบที่2 (Bag no.2) จนเต็ม

6.เก็บถุงตัวอย่างทั้งสองใบส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล

ข้อดีของการใช้ 13 C-Urea Breath Test
-ผู้ป่วยไม่เจ็บปวด
-มีความแม่นยำ 98%
-เป็นการตรวจหา H.Pylori
-เม็ดยา Urea ที่เคลือบด้วย 13C ไม่เป็นสารกัมมันตภาพรังสี
-ปลอดภัยทั้งผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่
-ไม่เหลือสารตกค้างในร่างกาย
-ลดการติดเชื้อเนื่องจากถุงเก็บตัวอย่างเป็นชนิด Disposable
-การวิเคราะห์ผลง่าย และรวดเร็ว 30 นาที สามารถทราบผล


ไม่ใช่กินข้าวไม่ตรงเวลา แต่เชื้อ H. pylori คือสาเหตุโรคกระเพาะอาหาร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์