กรมการแพทย์ เตือน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียง ไม่ได้จ่ายให้ผู้ป่วยทุกคน


กรมการแพทย์ เตือน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียง ไม่ได้จ่ายให้ผู้ป่วยทุกคน

กรณี ยาฟาวิพิราเวียร์ กรมการแพทย์ เปิดเผยข้อบ่งชี้และผลข้างเคียงของการใช้ ยาฟาวิพิราเวียร์ ระบุไม่ได้จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ทุกคน จะจ่ายให้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ดังนี้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ พล.อ.ต.นพ.อิทธิพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กว่า กรมการแพทย์ออกแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 21 ก.ค.2564 การรักษา COVID-19 แบ่งกลุ่มตามอาการได้เป็น 4 กรณี ดังนี้

1.ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการอื่น ๆ หรือสบายดี

แนะนําให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่ตรวจพบเชื้อ ระยะเวลาการกักตัว (ในสถานพยาบาลรวมกับที่บ้าน) อาจนานกว่านี้ในผู้ป่วยบางรายขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

โดยให้ดูแลรักษาตามดุลยพินิจของแพทย์ไม่ให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากส่วนมากหายได้เองและอาจได้รับผลข้างเคียงจากยา โดยให้พิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรในกลุ่มที่ไม่มีอาการขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

2.ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง /โรคร่วมสำคัญ ภาพถ่ายรังสีปอดปกติ

พิจารณาให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เริ่มให้ยาเร็วที่สุด หากตรวจพบเชื้อมาเกิน 7 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จําเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้น่าจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

แนะนําให้แยกกักตัวที่บ้านหรือในสถานที่รัฐจัดให้หากเข้าเกณฑ์ที่จะรับการรักษาแบบ home isolation หรือ community isolation ก็สามารถให้การรักษาในลักษณะดังกล่าวได้โดยให้ปฏิบัติตามหลักการแยกโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นเวลาอย่างน้อย (รวมทุกระบบการรักษา) 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น อย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง

3.ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสําคัญ หรือผู้ป่วยที่มีปอดบวม (pneumonia) เล็กน้อย ซึ่งไม่เข้าเกณฑ์ข้อ 4

ปัจจัยเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้ ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจ และหลอดเลือด รวมโรคหัวใจแต่กําเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

รวมถึงมีภาวะอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 90 กก. หรือ BMI ≥30 กก./ตร.ม.) ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และ lymphocyte น้อยกว่า 1,000 เซลล์/ลบ.มม. หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีแนวโน้มที่จะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น

แนะนําให้รักษาในโรงพยาบาล โดยให้อยู่ในระบบการรักษาและการแยกโรคอย่างน้อย 14 วัน นับจากวันที่เริ่มมีอาการหรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น (อาจอยู่โรงพยาบาลน้อยกว่า 14 วัน แล้วกลับไปกักตัวต่อที่บ้านจนครบ 14 วัน)

แนะนําให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด ให้ยานาน 5 วัน หรือมากกว่า ขึ้นกับอาการทางคลินิก ตามความเหมาะสมหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

พิจารณาให้ corticosteroid ร่วมกับ favipiravir ในกรณีที่มีผู้ป่วยมีอาการและภาพถ่ายรังสีปอดที่แย่ลง คือ มี progression of infiltrates หรือค่า room air SpO2 ≤96% หรือพบว่ามี SpO2 ขณะออกแรงลดลง ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรก (exercise-induced hypoxia)

4.ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวมที่มี hypoxia (resting O2 saturation ≤96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

แนะนําให้ยาฟาวิพิราเวียร์ (favipiravir) เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลินิก โดยอาจพิจารณาให้ lopinavir/ritonavir 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์) และแนะนําให้ corticosteroid

 




กรมการแพทย์ เตือน ยาฟาวิพิราเวียร์ มีผลข้างเคียง ไม่ได้จ่ายให้ผู้ป่วยทุกคน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี อัมรินทร์TV


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์