สารต้านอนุมูลอิสระ รู้ก่อนใครชะลอวัยก่อนเพื่อน !

สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ส่วนใหญ่จะเป็นสารอาหารในกลุ่มวิตามิน (Vitamins) หรือ สารในกลุ่มพฤกษเคมี (Phytonutrients) ซึ่งปัจจุบันนี้เราสามารถตรวจวัดระดับได้ว่ามีอยู่ในร่างกายในระดับมากน้อยเพียงใด ซึ่งตัวที่หมอจะนำมาเล่าให้ฟังในเช้าวันนี้ก็เป็นตัวที่นิยมตรวจวัดกันทั้งในโรงพยาบาล หรือ คลินิก ต่าง ๆ ครับ มาดูไปพร้อม ๆ กันได้เลย

[1] วิตามินซี (Vitamin C หรือ Ascorbic acid)
เป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถทำงานในบริเวณภายนอกเซลล์ (Extracellular antioxidant) ได้ดีมาก ๆ หนึ่งตัวครับ นอกจากนี้เเล้วยังมีความสำคัญต่อร่างกายในหลาย ๆ อย่าง เช่น กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยในการสร้างฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นต้น

[2] วิตามินอี (Vitamin E)
เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระภายในเซลล์ (Intracellular antioxidant) โดยเฉพาะบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ของเราที่มีโครงสร้างเป็นไขมัน (Lipid bilayers) ดังนั้น วิตามินอีจึงมีความสำคัญมากในการปกป้องเซลล์ของเราไม่ให้ถูกทำลายและเสื่อมเร็ว ช่วยเรื่องสุขภาพผิว ส่งเสริมการทำงานของวิตามินซีอีกด้วยนะครับ ปัจจุบันเรานิยมตัววัดกัน 2 ชนิด ซึ่งพบว่าในปัจจุบันมีความสำคัญต่อร่างกายในหลาย ๆ ประการ ได้แก่
- วิตามินอี ชนิด Alpha-tocopherol
- วิตามินอี Gamma-tocopherol

[3] วิตามินเอ (Vitamin A หรือ Retinol)
เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน จึงมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับวิตามินอี เป็นวิตามินตัวหลักที่จำเป็นต่อการมองเห็น การสร้างความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเสริมการทำงานของฮฮร์โมนไทรอยด์ การเจริญเติบโตของร่างกาย เป็นต้น

[4] เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene) และแอลฟ่าแคโรทีน (Alpha-carotene)
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่ม Carotenoids ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสร้างวิตามินเอ (เราจึงเรียกว่า Pro-vitamin A) จึงเป็นสารในกลุ่มพฤกษเคมีที่มีความสำคัญมากในบทบาทการต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด UVA UVB เป็นต้น

[5] ไลโคปีน (Lycopene)

เป็นอีกหนึ่งสารพฤกษเคมีในกลุ่ม Caroteniods ที่พบได้มากในมะเขือเทศและฟักข้าว มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระชนิด Singlet oxygen species ซึ่งพบได้บ่อยในกรณีที่ผิวหนังเราโดนแสงแดด จนอาทำให้เป็นสาเหตุของผิวพรรณหมองคล้ำ ฝ้า กระ จุดด่างดำ หรือที่เราเรียกว่า Photo aging นั่นเอง การทีเรามีระดับสารไลโคปีนในร่างกายที่เพียงพอจะทำให้ผิวเราแข็งแรงทนต่อแสง UV ได้นานขึ้นอีกด้วย

[6] โคเอนไซม์คิว10 (Coenzyme Q10)

สารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายได้ดีในไขมัน มีความสำคัญในการสร้างพลังงานในเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย ทำงานร่วมกันกับวิตามินซี และ วิตามินอีในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระ (เราเรียกว่า Antioxidants network) ช่วยเรื่องพละกำลังเรี่ยวเเรง การทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ในคนที่มีระดับสารตัวนี้ต่ำอาจมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียเรื้อรังได้ครับ
นอกจากนี้แล้ว ในปัจจุบันนี้เรายังพบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลาย ๆ ตัวที่ร่วมกันทำงานในร่างกายของเรา เช่น สารกลูต้าไทโอน (GSH & GSSG) เป็นต้น การตรวจระดับของสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เหล่านี้สามารถตรวจได้จากเลือดครับ หากให้ได้ผลดีเราควรงดน้ำงดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ
 

เมื่อเราทราบระดับของสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว แพทย์ก็จะสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปรับอาหารการกิน ว่าตัวไหนควรเสริม ตัวไหนควรลดหรือเลี่ยง รวมทั้งการเลือกรับประทานวิตามินอาหารเสริมที่เหมาะสมกับตัวเราได้ครับ

สารต้านอนุมูลอิสระ รู้ก่อนใครชะลอวัยก่อนเพื่อน !

ขอบคุณที่มาจาก :@morlorkorlao


เครดิต :
แหล่งที่มา: ขอขอบคุณ RS

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์