ทำความเข้าใจ ‘ไขมันทรานส์’ คืออะไร? ก่อนไทยห้ามจำหน่าย (คลิป)

ภัยร้ายของ ‘น้ำตาล’ และ ‘ไขมันทรานส์’
 
จากผลงานวิจัยของ TDRI พบผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อุบัติเหตุหลอดเลือดในสมอง และมะเร็งเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก เหตุใดกระทรวงสาธารณสุขจึงไม่ดำเนินการในการป้องกัน และควบคุมผลิตอาหารที่มีประเภทน้ำตาลและไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสำคัญ


เชิญรับชมคลิปวิดีโอ
vvvv
vvv
vv
v

ทำความเข้าใจ ‘ไขมันทรานส์’ คืออะไร? ก่อนไทยห้ามจำหน่าย (คลิป)

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้เผยแพร่บทความที่อ้างอิงจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เรื่องโครงการศึกษาผลลัพธ์ทางสุขภาพ และความเป็นธรรมทางสุขภาพ แล้วพบว่า : 

"ปี 2550-2554 ผู้สูงอายุ 60 ปี สิทธิบัตรทอง ที่ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมอง โรคมะเร็ง จะเสียชีวิตในหนึ่งปีมากกว่าสิทธิข้าราชการถึง 70,000 กว่าคน หรือคิดเป็นร้อยละ 70

ส่วนผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด อุบัติเหตุหลอดเลือดในสมอง และมะเร็ง จะเสียชีวิตมากผิดปกติ ต่างจากโรคอื่น 30,000 กว่าคน"

และในขณะที่เรากำลังถกเถียงเรื่องที่น่าสนใจในเรื่องอัตราการตายด้วยโรคเหล่านี้ ก็เกิดคำถามว่าเหตุใดกระทรวงสาธารณสุขจึงไม่ดำเนินการในการป้องกันสาเหตุของโรคยอดฮิตในยุคนี้ ก็เพราะไม่มีควบคุมผลิตอาหารที่มีทั้ง "น้ำตาล" และ "ไขมันทรานส์" ให้ได้อย่างดีพอ?

ไขมันทรานส์ คืออะไร

กรดไขมันทรานส์ผสมอยู่ในเบเกอรี่ หรือ โดนัท ที่มีวางขายทั่วไปที่ใช้ เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม หรือมาการีน และเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จะเพิ่มระดับไขมันเลว (LDL) และลดไขมันดี (SDL) ในเส้นเลือด ซึ่งนำไปสู่โรคหลอดเลือด โรคหัวใจ รวมถึงโรคเบาหวานอีกด้วย

กรดไขมันทรานส์ ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ผ่านมา โดยการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของน้ำมันพืช เพื่อทำให้น้ำมันพืชสามารถคงสภาพแข็งตัวหรือกึ่งแข็งกึ่งเหลว และมีอายุเก็บไว้ได้นานกว่าเดิม

ถึงแม้มันจะช่วยให้อุตสาหกรรมอาหารลดต้นทุนในการผลิต และเคยถูกมองว่าเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าไขมันธรรมชาติ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้ยืนยันแล้วว่ามันเป็นภัยต่อสุขภาพ


เมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก ประกาศแผนเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกห้ามการใช้ไขมันทรานส์ ซึ่งพบว่ามีความเชื่อมโยงต่ออัตราการเสียชีวิตก่อนวัยแล้วหลายล้านราย

ผลเสียจากไขมันทรานส์ มีให้เห็นในหลายประเทศ เช่น ในอินเดีย และปากีสถาน ที่ร้านอาหารนิยมใช้ น้ำมันเนยใส (vanaspati) ซึ่งทำจากน้ำมันปาล์ม น่าจะมีส่วนที่ทำให้อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในหมู่ประชากรเอเชียใต้นั้นสูงผิดปกติ

องค์การอนามัยโลกเชื่อว่า หากสามารถกำจัดไขมันทรานส์ให้หมดไปจากอุตสาหกรรมอาหารโลกภายในปี 2023 ความพยายามนี้อาจช่วยรักษาชีวิตของประชากรโลกได้กว่า 10 ล้านคน

 
เหตุใดไทยทำได้รวดเร็ว?

การประกาศของกระทรวงสาธารณสุขครั้งนี้ อาจดูเหมือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความจริงแล้วมีการเริ่มศึกษาแนวทางในการเลิกใช้ไขมันทรานส์มาตั้งแต่ปี 2007 หรือกว่า 10 ปีมาแล้ว ตามคำกล่าวของ รศ.ดร. วันทนีย์ เกรียงสินยศ

รศ.ดร. วันทนีย์ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล กล่าวว่าก่อนการประกาศกฎกระทรวงครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการหลายรายก่อนแล้ว และ “ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีกับประชาชน” แต่เตือนว่าไขมันทรานส์ไม่ใช่ไขมันเพียงชนิดเดียวในอาหาร

“มันยังมีไขมันอิ่มตัว ที่มาจากพวกของทอด หรือพวกกรดไขมันอิ่มตัวอยู่ ซึ่งอาจจะเทียบได้ว่าดีกว่าไขมันทรานส์ ตรงที่ไม่ได้ไปลดไขมันที่ดีในเส้นเลือด แต่ก็จะเพิ่มทั้งไขมันที่ดีและไม่ดี ซึ่งการกินมากเกินไป ก็จะทำเกิดความเสี่ยงเหมือนกัน”


ไม่มีไขมันทรานส์ ไม่ได้แปลว่าไขมันต่ำ

นั่นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่คณะทำงานขององค์การอาหารและยา กำลังพิจารณาเกี่ยวกับการติดฉลาก “ปราศจากไขมันทรานส์” หรือ “Trans fat free” ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ไม่เข้าใจเชื่อได้ว่าเป็นอาหารไขมันต่ำ

หนึ่งในแนวทางที่อาจจะเกิดขึ้น คือ การกำหนดเกณฑ์ปริมาณไขมันอิ่มตัวสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการติดฉลากนี้ เช่นเดียวกับในหลายประเทศ

นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ ยังสามารถพบได้ในธรรมชาติ จากเนื้อสัตว์ประเภทเคี้ยวเอื้อง แต่มักในอยู่สัดส่วนที่น้อยกว่า ไขมันทรานส์จากการเติมไฮโดรเจนหลายเท่า

“กฎหมายบ้านเรา อาจจะไม่ได้ให้เขียนว่าไขมันทรานส์เป็น ศูนย์ เพราะถ้าเขียนเช่นนั้น โดยที่ประชาชนยังมีความเข้าใจไม่ครอบคลุม อาจทำให้บริโภคเยอะได้” รศ.ดร. วันทนีย์ กล่าว

“เราควรกินแต่น้อย แต่ไม่ถึงขั้นไม่ให้กินเลย”


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์