ดูทีวีอย่างไร ไม่เสี่ยงอัมพฤกษ์!!

รู้ไหม ในวันหนึ่งๆ คนเราใช้เวลากับการนั่งดูทีวีเฉลี่ย 2-3 ชั่วโมงต่อวัน แต่น้อยคนนักที่จะสนใจท่าทางที่ถูกต้องในการนั่งดูทีวี การนั่งดูทีวีนั้นถ้าใช้เวลาไม่มาก ก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้านั่งดูทีวีวันละเกิน 1 ชั่วโมง และเป็น 1 ชั่วโมงที่นั่งด้วยท่าไม่ถูกต้อง จะส่งผลเสียต่อร่างกายมาก
ข้อมูลจากสถาบันปรับโครงสร้างร่างกายอริยะ ระบุว่า ท่านั่งดูทีวีที่ไม่เหมาะสม มีตั้งแต่ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน นั่งเอนหลังโดยใช้แผ่นหลังช่วงล่างรองรับน้ำหนักแทนก้นกบ หรือนั่งบนโซฟาที่นุ่มมากเกินไปจนก้นจมลงไป การเอนตัวกึ่งนั่งกึ่งนอน หาหมอนเรียงซ้อนกันหลายๆ ใบ หนุนหัวสูงเพื่อจะได้นอนเห็นทีวีชัดเจนบางรายแย่กว่านั้น ชอบนอนดูทีวีที่ตั้งอยู่ปลายเตียง ดังนั้น เมื่อทีวีตั้งอยู่ปลายเท้า ก็ต้องหนุนศีรษะให้สูงขึ้นๆ ยิ่งอันตรายมาก หากเผลอหลับในท่าเหล่านี้
พฤติกรรมท่านั่งนอนดูทีวีดังกล่าว ล้วนส่งผลเสียต่อโครงสร้างร่างกาย เช่น มีอาการยึดรั้งของกล้ามเนื้อ อาการปวดเมื่อยตามลำตัว ปวดหลัง ปวดคอ ปวดศีรษะ ไมเกรน ชาตามปลายมือปลายเท้า ร่างกายขาดการรับรู้ความรู้สึกบางส่วน หรือที่เรียกว่าอัมพฤกษ์!

ดูทีวีอย่างไร ไม่เสี่ยงอัมพฤกษ์!!

หลีกเลี่ยง
1. ท่านั่งกึ่งนอน และท่าเอนหลังมากๆ ซึ่งความโค้งของหลังจะแอ่นนูนมาทางด้านหลัง ทำให้เส้นเอ็นต่างๆ ที่ขึงแนวกระดูกสันหลัง รวมถึงกล้ามเนื้อถูกยืดยาวออกจากระนาบปกติ ทำให้ขาดความมั่นคง เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย หมอนรองกระดูกเคลื่อน หรือปลิ้นออกมาทับเส้นประสาท ปวดหลังปวดร้าวลงขา
บางรายชาที่เท้าหรือนิ้วเท้า ในบางรายที่ร้ายแรงอาจมีอาการกดทับเส้นประสาท มีผลไม่ให้ไม่มีแรงของกล้ามเนื้อ รู้จักกันดีในชื่อของอาการอัมพฤกษ์
2.ท่านั่งพิงพนักและหนุนศีรษะให้สูงขึ้น เป็นการบังคับคอของเราให้ถูกดันหรือก้มมาทางด้านหน้าตลอดเวลา ผลเสียคล้ายกับท่านั่งกึ่งนอน แต่ความเสียหายเกิดขึ้นที่แนวกระดูกช่วงคอ
หากอยู่ในท่านี้ประจำ หรือแอบหลับในท่าหนุนคอสูง จะเสี่ยงต่ออาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาทับเส้นประสาทคอ ปวดเรื้อรังที่คอ บ่า เสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ชนิดยกแขนไม่ได้
3.ทุกท่าที่นั่งแล้วเกิดอาการบาดเจ็บต่างๆ กับร่างกาย เป็นตัวชี้ให้เห็นว่า เราใช้ร่างกายผิดท่าผิดทาง เมื่อเริ่มมีอาการ ควรใส่ใจต่อความเจ็บปวดหรืออาการที่ผิดปกตินั้น


นั่งดูทีวี...นั่งยังไง
1.ถ้านั่งดูทีวีจากโซฟา ควรเป็นโซฟาที่เราสามารถเอนหลังได้ ไม่นุ่มเกินไป
2.นั่งแล้วก้นไม่ยวบลงมากนัก
3.นั่งแล้วดันหลังให้ติดกับพนักพิง หรือหาหมอนมาวางดันหลังเอาไว้ เพื่อให้ตลอดทั้งหลังแนบไปกับโซฟา
4.ควรมีหมอนรองรับตั้งแต่ช่วงหัวไหล่จนถึงศีรษะ (ไม่ใช่ให้หมอนหนุนเพียงช่วงต้นคอ)
จัดองค์ประกอบท่านั่งดีแล้ว แต่ก็ยังต้องแบ่งเวลาให้ถูก สูงวัยแล้วไงอย่ามัวแต่นั่งดูทีวีทั้งวัน บริหารเวลาเพื่อกิจกรรมอื่น ๆ ด้วย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์