การออกกำลังกายที่หนักหน่วงช่วยทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นได้

นักวิจัยกล่าวว่า “การออกกำลังกายที่หนักหน่วง ชนิดที่คุณเสียเหงื่อเป็นจำนวนมาก และหน้าแดง รวมไปถึงหายใจอย่างหนัก อาจจะดีมากกว่าการออกกำลังกายแบบกลางๆ เมื่อคุณต้องการหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร”

ซึ่งผลที่ได้ มาจากการศึกษาของนักวิจัยชาวออสเตรเลียจากข้อมูลกว่า 200,000 คนที่มีอายุเกิน 45 ปี และได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ Journal of the American Medical Association (JAMA) Internal Medicine

การศึกษานี้ศึกษาอาสาสมัครเป็นเวลามากกว่า 6 ปี

กลุ่มคนที่ทำการ จ็อกกิ้ง แอโรบิค หรือแข่งขันกีฬาเทนนิส ซึ่งเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ในหนึ่งสัปดาห์นั้น จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ประมาณ 9-13 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ออกกำลังกายแบบกลางๆ อาทิเช่น การว่ายน้ำ การเล่นเทนนิสทั่วไป หรืองานบ้าน 

“ประโยชน์ของกิจกรรมหนักๆ นั้นมีผลต่อผู้หญิงและผู้ชายในทุกๆ อายุ และมันไม่ขึ้นอยู่กับเวลาทั้งหมดที่ใช้ไปด้วย” ผู้นำการศึกษากล่าว ซึ่งก็คือ ดอกเตอร์ Klaus Gebel โดยที่เขามาจาก James Cook University's Centre for Chronic Disease Prevention

“ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ไม่ว่าคุณจะอ้วนหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าคุณจะมีโรคหัวใจหรือโรคเบาหวานก็ตาม ถ้าคุณสามารถออกกำลังกายอย่างหนักได้ มันสามารถนำมาซึ่งผลดีที่ทำให้คุณมีชีวิตยืนยาวขึ้นได้”

“การศึกษาแนะด้วยว่า ข้อแนะนำทางสุขภาพทั่วไปต้องการที่จะจูงใจอย่างมากให้ทำกิจกรรมที่หนัก” ดอกเตอร์ Melody Ding กล่าว ซึ่งเขาเป็นผู้เขียนงานร่วมกับการศึกษาในครั้งนี้ โดยเขามาจาก University of Sydney's School of Public Health

ข้อแนะนำขององค์กรอนามัยโลกและการแพทย์ของออสเตรเลียแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรจะออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีสำหรับกิจกรรมแบบ  กลางๆ และ 75 นาที สำหรับกิจกรรมที่หนักต่อสัปดาห์ หรือทำไปทั้งสองอย่าง

“ข้อแนะนำได้ให้อิสระในการเลือกระดับของการออกกำลังกายในแต่ละคน หรือเป็นการผสมระหว่างกลางๆ และหนัก” Ding กล่าว

การศึกษาปัจจุบันแนะว่า คนเราควรจะเลือกการออกกำลังกายแบบเข้มข้นถ้าพวกเขาสามารถทำได้ และถ้าหมอนั้นเห็นด้วย

“จากผลการทดลองของเรา 20-35 นาทีของการออกกำลังกายที่หนักหน่วงต่อสัปดาห์ สามารถทำให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนได้ในการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น” Gebel กล่าว

“ก่อนหน้าที่จะเริ่มการทดลอง ผู้คนที่ไม่เคยออกกำลังอย่างหนักมาก่อน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีอายุจะต้องรับการตรวจจากหมอก่อน” Gebel กล่าว

“และเมื่อพวกเขาพูดถึงการออกกำลังกายอย่างหนักนั้น มันไม่ได้หมายถึง การวิ่งมาราธอน มันไม่ได้ต้องการความรุนแรงถึงขนาดนั้น”

“มันแค่เพียงต้องการทำบางสิ่งบางอย่างที่มีความหนักมากพอที่จะทำให้คนๆ นั้นเหงื่อออก และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจที่เราสังเกตเห็นได้”

การเสียชีวิตทันทีที่แทบจะไม่เกิดขึ้น

การศึกษาอีกอันหนึ่งที่แยกออกมาซึ่งตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ Circulation พบว่า โรคหัวใจวายเฉียบพลันในระหว่างการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬานั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นกับกลุ่มคนช่วงอายุกลางคนที่ร่างกายนั้นแข็งแรงและฟิต

นักวิจัยทำการตรวจสอบข้อมูลมากกว่า 1,200 กรณี ที่เกี่ยวกับโรคหัวใจวายเฉียบพลัน อาการก็คือ หัวใจหยุดเต้นเนื่องจากมีการรบกวนของกระแสไฟฟ้าภายในร่างกายซึ่งหยุดการไหลของกระแสเลือด ในผู้ชายและผู้หญิงจะอยู่ในช่วงอายุ 35-65 ปี

เพียง 5 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เช่น การวิ่ง บาสเก็ตบอล หรือขี่จักรยาน

2 ใน 3 ของกรณีทั้งหมด คนไข้มีข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับโรคหัวใจมาก่อนหน้านี้แล้ว ก่อนที่จะมีอาการหัวใจวายเฉียบพลัน

“การค้นพบของพวกเราเน้นย้ำถึงความคิดของประโยชน์ที่สูงที่สุดของการออกกำลังกายในช่วงอายุกลางคนและเน้นถึงความสำคัญของการศึกษาที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีอายุและกลุ่ม baby boomers เพื่อให้ออกกำลังกายและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น” Sumeet Chugh กล่าว





ที่มา : vcharkarn.com

การออกกำลังกายที่หนักหน่วงช่วยทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นได้

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์