ทำตัวดีชีวิตดี๊ดี…เมื่อต้องฟอกเลือด

การปฏิบัติตัวก่อนฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

1.ควรทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการฟอกเลือดถ้าหากจำเป็นที่จะต้องทานอาหารขณะฟอกเลือดจริงๆแล้วควรเป็นอาหารที่ทานง่ายไม่หกเลิกเทอะและใส่ภาชนะได้สะดวกไม่ควรกินอาหารปริมาณมากหรืออาหารมื้อหนักหนักเพราะว่าอาหารที่ย่อยยากจะทำให้เลือดไปเลี้ยงกระเพาะมากซึ่งขณะฟอกอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำได้ซึ่งค่อนข้างมีความอันตราย หรืออาจทำให้ไม่สามารถฟอกเลือดได้จนครบเวลา

2.ผู้ป่วยที่มีปัญหาความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือดสิ่งที่สำคัญคือจะต้องรีบไปพบ อายุรแพทย์โรคไตที่ดูแลเพื่อที่จะได้ปรับยาลดความดันบางตัวก่อนการฟอกเลือดในแต่ละวันซึ่งในแต่ละคนก็จะแตกต่างกันสิ่งที่สำคัญคือห้ามลดยาลดความดันด้วยตนเองเพราะอาจจะมีปัญหาตามมาได้

3.ถ้าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือไม่สบายต้องแจ้งพยาบาลก่อนการฟอกเลือดทุกครั้งอาการที่ต้องแจ้งมีดังนี้คือ

มีไข้เจ็บ

แน่นหน้าอก

นอนราบไม่ได้

ท้องผูก ท้องเสีย

นอนไม่หลับ

คลื่นไส้

อาเจียน

สับสน

มีภาวะเลือดออกผิดปกติ

ประจำเดือนมากผิดปกติ

ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด

เพื่อที่จะได้หาสาเหตุและแก้ไขได้ทันท่วงที

4.ในกรณีผู้ป่วยมีนัดทำผ่าตัดต่างๆเช่น การผ่าตัดทำเส้นฟอกไต ถอนฟัน ส่องกล้อง ทั้งก่อนและหลังฟอกเลือดมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแจ้งให้พยาบาลผู้ดูแลทราบเพราะจะได้งดการให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดขณะฟอกไต

5.ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่แขนควรทำความสะอาดเส้นเลือดที่แขนโดยการฟอกสบู่ให้สะอาดและซับให้แห้งเบาๆก่อนการฟอกเลือดทุกครั้งและในวันที่มาฟอกเลือดไม่ควรทาโลชั่นหรือแป้งที่บริเวณเส้นฟอกเลือด เนื่องจากจะเพิ่มโอกาสการติดเชื้อได้

6.ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาชาชนิดทาควรทาก่อนการลงเข็มประมาณ 30 นาทีเพื่อให้ออกฤทธิ์ได้ดีและในกรณีที่มีผื่นคันควรงดการใช้ยาทันทีและแจ้งพยาบาลผู้ดูแลให้ทราบ

7.ชั่งน้ำหนักตัวทุกครั้งก่อนฟอกเลือดโดยนำของใช้ประจำตัวและกระเป๋า ออกจากร่างกาย รวมทั้งไม่ใส่รองเท้าเนื่องจากจะได้วัดและประเมินน้ำหนักส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ทำตัวดีชีวิตดี๊ดี…เมื่อต้องฟอกเลือด


การปฏิบัติตัวระหว่างฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

1.ขณะฟอกเลือดควรหลีกเลี่ยงการนอนทับแขนข้างที่มีการแทงเข็มเพราะอาจทำให้เข็มเลื่อนหลุดผิดตำแหน่งได้รวมทั้งอาจจะทำให้เส้นเลือดแตกและเสียหาย

2.ในขณะฟอกเลือดถ้าผู้ป่วยรู้สึกมีอาการไม่สบายตัวหรือมีภาวะผิดปกติเช่น

หน้ามืดเวียนหัว

คลื่นไส้อาเจียน

ปวดท้อง

ปวดศีรษะ

ใจสั่นหนาว

ร้อนเกินไป

เป็นตะคิว

ควรรีบบอกพยาบาลผู้ดูแล โดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้มีอาการมากเพราะจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที


ทำตัวดีชีวิตดี๊ดี…เมื่อต้องฟอกเลือด


การปฏิบัติตัวหลังการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

1.ชั่งน้ำหนักหลังฟอกเลือดทุกครั้งเพื่อประเมินน้ำในร่างกายที่ดึงออกจากการฟอกเลือด

2.หลังจากการฟอกเลือดแนะนำให้ผู้ป่วยใช้มือช่วยกดบริเวณรอยแผลจากการฟอกเลือดด้วยตนเอง โดยมีความแรงพอที่จะให้เลือดหยุดไหลแต่ยังรู้สึกเหมือนมีน้ำไหลอยู่ในเส้นเลือดตลอดเวลาโดยส่วนใหญ่แนะนำให้กดค้างไว้ 15 ถึง 30 นาทีในกรณีที่เลือดยังไม่หยุดไหลให้รีบแจ้งคุณพยาบาล

3.ไม่แนะนำให้ใช้สายรัดเพื่อรัดให้เลือดหยุดไหลบริเวณที่แทงเข็มเนื่องจากจะทำให้เส้นเลือดฟอกไตเสียหายและดับได้

4.ใน 24 ชั่วโมงแรกให้ระวังเรื่องการกระทบกระแทกหรือโดนของมีคมบาดเนื่องจากในร่างกายของผู้ป่วยหลังฟอกเลือดนั้นจะยังมีสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดค้างอยู่อีกหลายชั่วโมง

5.ผู้ป่วยหลายหลายท่านอาจจะมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หลังจากการฟอกเลือดโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกอาการดังกล่าวจะดี ขึ้นเรื่อยๆในกรณีที่มีอาการค่อนข้างรุนแรงให้รีบแจ้งพยาบาลทันทีเพื่อปรับปริมาณการดึงน้ำออกจากร่างกายให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละท่าน

6.ทุกๆเช้าแนะนำให้ผู้ป่วยใช้มือคลำหรือใช้หูแนบที่เส้นฟอกไตว่ายังได้ยินเสียงฟู่หรือคลำได้ความรู้สึกสั่นต่อเนื่องของเส้นเลือดอยู่หรือไม่ถ้าไม่ได้ยินเสียงหรือคลำไม่ได้ให้รีบมาพบแพทย์เร่งด่วนเนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวันจะทำให้ไม่สามารถผ่าตัดแก้ไขได้

7.แนะนำให้ออกกำลังกายโดยการบีบลูกบอลสม่ำเสมอโดยแนะนำให้บริหารหลังการฟอกเลือดหนึ่งวันเพื่อป้องกันเลือดออกบริเวณรูเข็ม การออกกำลังกายบริหารจะทำให้เส้นเลือดฟอกไตมีอายุยืนยาวขึ้น

8.ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่คอควรดูแลความสะอาดของผิวหนังรอบสายโดยห้ามแผลเปียกน้ำ และ ระวังเรื่องการมีเหงื่อออกมากเนื่องจากจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้สูง


ทำตัวดีชีวิตดี๊ดี…เมื่อต้องฟอกเลือด

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์