ผู้ป่วยฟอกไตกินอะไรชีวิตดี๊ดี


ผู้ป่วยฟอกไตกินอะไรชีวิตดี๊ดี

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าเรื่องกินนั้นเป็นความสุขอันดับต้นๆของมนุษย์แต่ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังโดนจำกัดอาหารตลอดเวลาซึ่งก็แทบไม่รู้ว่าจะทานอะไรดี แม้แต่น้ำเปล่ายังห้าม!!!

 วันนี้เรามาดูกันครับว่าเราจะสามารถคืนความสุขในการกินให้แก่ผู้ป่วยไตวายอย่างไรได้บ้างขั้นแรกเอาเทคนิคการกินผักง่ายๆไปก่อน

1.เลือกรับประทานผัก ผักที่มีสีเขียวอ่อน สีขาว ซึ่งเป็นผักที่มีโพแทสเซี่ยมต่ำ แทนสีเขียวเข้มจัด
เช่น บวม ฟัก น้ำเต้า ผักกาดขาว กระหล่ำปลี แตงกวา ถั่วงอก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะระ ผักบุ้ง

2.เทคนิค ลวกหรือต้มผักก่อนรับประทาน เพื่อลดปริมาณปริมาณโปแทสเซี่ยมในอาหาร ทำโดยการหั่นหรือสับผักเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มในน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง อย่างไรก็ตามวิธีนี้อาจสูญเสียคุณค่าของวิตามินที่จำเป็นด้วย

ผู้ป่วยไตวายมักท้องผูกบ่อยๆเพราะไม่กล้าทานผักทำให้ขาดอาหารที่เป็นกากใยแต่หลังจากท่านอ่านบทความนี้แล้วท่านจะเข้าห้องน้ำอย่างมีความสุข

 ผู้ป่วยฟอกเลือดด้วยไตเทียม จะต้องฟอกเลือดประมาณสัปดาห์และ 2 - 3 ครั้ง ๆ ละ 4-6 ชั่วโมง ซึ่งต่างกับไตของคนปกติที่ทำหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยไตเทียมยังมีของเสียคั่งอยู่มากของเสียที่คั่งอยู่ได้แก่

1.สารโพแทสเซียม

2.โซเดียม

3.ฟอสเฟต

4.น้ำ

หลักการรักษาคือต้องทานอาหารที่มีส่วนประกอบที่กล่าวมาในปริมาณจำกัด (ไม่ใช่ห้ามทาน)
ส่วนสารที่มักจะขาด ได้แก่ โปรตีน เนื่องจากในการฟอกเลือดแต่ละครั้งจะการสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการสูญเสียกรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีน
ส่วนสารที่มักจะขาด ได้แก่ โปรตีน เนื่องจากในการฟอกเลือดแต่ละครั้งจะการสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการสูญเสียกรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีน

ส่วนสารที่มักจะขาด ได้แก่ โปรตีน เนื่องจากในการฟอกเลือดแต่ละครั้งจะการสลายกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกายเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการสูญเสียกรดอะมิโน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของโปรตีน
เลือกกินโปรตีนอย่างไร?

 ขณะฟอกเลือดร่างกายจะสูญเสียสารอาหารโปรตีน ดังนั้น ผู้ป่วยควรเลือกรับโปรตีนให้เพียงพอโดยกินไข่ขาววันละ 2 ฟองและกิน เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ได้แก่ ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อปู เนื้อกุ้ง สันในหมู อกไก่ โดยกินให้ได้ประมาน 3 กล่องไม้ขีดไฟกล่องเล็ก

หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง หมูยอ หมูหยอง แหนม ลูกชิ้น เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีฟอสฟอรัสในเลือด มากกว่า 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ควรหลีกเลี่ยงนมทุกชนิด ไข่แดง โปรตีนจากถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ฟองเต้าหู้

 

 


ผู้ป่วยฟอกไตกินอะไรชีวิตดี๊ดี


เลือกกินผักอย่างไร?

หากโพแทสเซียมในเลือดน้อยกว่า 3.5 mEq/L สามารถ กินผักได้ทุกชนิดโดยเฉพาะผักที่มีโพแทสเซียมสูง ส่วนผู้ที่มี โพแทสเซียมในเลือดมากกว่า 5.2mEq/L ควรงดกินผัก ผลไม้ โพแทสเซียมปานกลาง และสูง แล้วเลือกกินกลุ่มต่ำแทน

ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ กะเพรา กวางตุ้ง ชะอม ตำลึง ถั่วพูถั่วลันเตา ใบบัวบก ใบแมงลักบวบ ผักกาดขาว ผักกาดหอม โหระพา เห็ดหูหนู อโวคาโด

 ผักที่มีโพแทสเซียมปานกลาง กะหล่ำ ปลีคะน้า กุยช่าย พริกหวาน ข้าวโพดอ่อน น้ำเต้า ผักโขม ผักบุ้ง แตงกวาฟักเขียว มะเขือยาวมะละกอดิบ หอมใหญ่

ผักที่มีโพแทสเซียมสูง กะหล่ำดอก มัน กะหล่ำปลีม่วง ขี้เหล็ก แครอท ถั่วฝักยาว บรอกโคลี มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเทศ มะระจีน วาซาบิ รากบัว สะตอ สะเดา ฟักทอง หัวปลี หน่อไม้


ผู้ป่วยฟอกไตกินอะไรชีวิตดี๊ดี


เลือกผลไม้อย่างไร?

 ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ สับปะรด 6-8 ชิ้นคำ มะม่วง ครึ่งผล แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก มังคุด 4 ผล ท้อ ครึ่งผลเล็ก เงาะ 5 ผล สาลี่ ครึ่งผล ส้มเช้ง 1 ผล สละ 5 ผล

 ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมปานกลาง กีวี 1 ผล น้อยหน่า ครึ่งผล ลูกพีช 1 ผล ส้มโอ 2 กลีบ ลองกอง 5 ผล ลิ้นจี่ 4 ผล ลำไย 4 ผล ชมพู่ 3 ผล ละมุด ครึ่งผล เชอร์รี่ 10 ผล องุ่น 15 ผล

ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง กล้วย 1 ผลเล็ก ขนุน 2 ชิ้น แคนตาลูป 15 ชิ้นคำ ส้ม 1 ผล ฝรั่ง 1/3 ผลกลาง มะละกอ 6 ชิ้นคำ แก้วมังกร 1/3 ผล ทุเรียน ครึ่งเม็ด มะขาม 2 ฝัก แตงโม 6 ชิ้นคำ สตรอว์เบอร์รี่ 12 ผล เสาวรส 2 ผล ผลไม้แห้ง 2 ช้อนโต๊ะ น้ำผลไม้ 120 ซี.ซี


ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักผลไม้ที่มีสารที่มีกรดอ็อกซาริก (oxalic acid) ปริมาณสูง ซึ่งสามารถจับกับแคลเซี่ยมตกตะกอนเป็นก้อนนิ่วที่ไต ทำให้เกิด acute oxalate nephropathy

 ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดเอว ปัสสาวะปริมาณลดลง ตัวอย่างที่พบได้บ่อย คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง หรือคนปกติที่ชอบรับประทานน้ำคั้นมะเฟืองเปรี้ยว (มะเฟืองเปรี้ยวมีปริมาณกรดอ็อกซาริกมากกว่ามะเฟืองหวานประมาณ 4 เท่า)


ผู้ป่วยฟอกไตกินอะไรชีวิตดี๊ดี


เทคนิคลดเกลือโซเดียม

1. รับประทานอาหารสด ปรุงรสต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เพื่อให้ คุ้นเคยกับอาหารรสจืด

2. อย่าวางเครื่องปรุงบนโต๊ะอาหาร

3. ลดการใช้ผงชูรส

4. เมื่อไปรับประทานอาหารนอกบ้าน ควรแจ้งแม่ค้าว่า "ไม่ เค็ม และไม่ใส่ผงชูรส"

5. หลีกเลี่ยงการใช้อาหารแปรรูป อาหารสำเร็จรูป อาหาร กึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง อาหาร อบแห้งหรือแช่อิ่ม

6. หลีกเลี่ยงอาหารจาน ด่วน เช่น เฟรนช์ฟรายส์ ไก่ทอด แฮมเบอร์เกอร์ และพิซซ่า

7.ระวังอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุง น้ำจิ้ม เช่น สุกี้ หมูกะทะ รวมถึงควรลด ปริมาณ น้ำจิ้มด้วย

8. อาหารที่ขาดรสเค็ม จืด ชืด สามารถแก้ไขโดยใช้รสเปรี้ยว รสเผ็ด และเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ เช่น หอมแดง ใบมะกรูด กระเทียม ข่า ตะไคร้ กระชาย ผักชี ขิง ใบ แมงลัก ฯลฯ ช่วยเสริมรสชาติ กลิ่น และสีสรรให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น

9. หลีกเลี่ยงการใช้เกลือโพแทสเซียมในการปรุงรสเค็ม แทนเกลือโซเดียม

สรุป

1. ไม่เค็ม คือ ใช้น้ำปลาไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน

2. รับประทานเนื้อสัตว์ 4-6 ช้อนโต๊ะต่อมื้อหรือเท่ากับ 3 กล่องไม้ขีดไฟกล่องเล็ก และกินไข่ขาววันละ 2 ฟอง หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์แปรรูป

3. รับประทานผักสุกทุกมื้อ มื้อละ 1-2 ทัพพี โดยเลือกผัก ให้สอดคล้องกับค่าโพแทสเซียมในเลือด

4. รับประทานผลไม้ได้วันละ 1-2 ส่วน โดยเลือกผลไม้ให้ สอดคล้องกับค่าโพแทสเซียมในเลือด

5. บริโภคข้าวแป้งในปริมาณที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยง ขนมปัง เผือก มัน ข้าวโพด และเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของ น้ำตาลสูง

6. เลือกบริโภคน้ำมันที่เป็น แหล่งของกรดไม่อิ่มตัวตำแหน่ง เดียว สลับกับน้ำมันที่มีกรดไขมัน ไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง เช่น น้ำมัน รำข้าว น้ำมันถั่วเหลือ น้ำมันจาก ปลา เป็นต้น

7. หากฟอสฟอรัสในเลือดมากกว่า 5.5 มิลลิกรัมต่อ เดซิลิตร ควรหลีกเลี่ยงนมทุกชนิด ไข่แดง โปรตีนจากถั่ว ผลิตภัณฑ์ จากถั่ว ชากาแฟและเครื่องดื่มสีเข้ม


ผู้ป่วยฟอกไตกินอะไรชีวิตดี๊ดี

Cr : ภาพจาก voicetv.co.th & โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์

Cr : ข้อมูลบางส่วนจากโรงพยาบาลถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์

Cr : ข้อมูลและภาพบางส่วนจาก เพจ ดูแลผู้ป่วยฟอกไตง่ายนิดเดียว กับ Nurse Mali

 



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์