21 สาระน่ารู้ทางการเเพทย์

1) เบอร์โทรศัพท์ 1669 คือ เบอร์โทรขอความช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน จากโรงพยาบาลใกล้บ้าน ต้องรู้ จำได้ และพร้อมโทรเสมอ

2) การรักษาพยาบาลในปัจจุบัน มีทั้งฟรีและไม่ฟรี หากไม่พอใจโรงพยาบาลรัฐ ก็อย่าไปว่าพยาบาล ว่าหมอเลย เพราะ รพ.รัฐ งานหนักมาก คนไข้ก็เยอะหากพอมีเงิน และอยากได้รับบริการที่รวดเร็วและดี ควรเลือกไปรพ.เอกชน หรือ คลินิกก็ได้

3) โรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular diseases) ยังเป็นโรคที่มีอัตราการตายมากที่สุดในปัจจุบัน เพราะพฤติกรรมสุขภาพของเราเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง อายุมากกว่า 40 ปี ควรได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยง (เช่น ความดัน น้ำตาล ไขมัน ดัชนีมวลกาย เป็นต้น) และควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ร่วมด้วย

4) พยาบาลเป็นวิชาชีพที่สำคัญมากที่สุดอีกหนึ่งวิชาชีพใน รพ. ต้องทำงานหลายอย่างในแต่ละวัน อาจทำให้เกิดความเครียดได้ ควรให้ความเคารพ เชื่อฟังคำแนะนำ และให้ความร่วมมือในการทำงานทุกครั้ง

5) ครอบครัวที่อบอุ่น คือ จุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี

6) เราควรให้ความเคารพกับทุกสถานที่ ที่เราไปใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล วัดวาอาราม โบสถ์ หรือแม้เเต่สถานที่สาธารณะทั่วไป

7) โรคที่สามารถติดต่อทางเลือด ( + ทางเพศสัมพันธุ์) ได้มีหลายโรค เเต่ที่สำคัญและพบบ่อย คือ โรคเอดส์ (จากเชื้อไวรัส HIV) ไวรัสตับอักเสบ ชนิด B C ควรป้องกันทุกครั้งที่ต้องเสี่ยง สำหรับไวรัสตับอักเสบ B นั้น ควรได้รับการตรวจคัดกรองว่าเรามีภูมิป้องกันการติดเชื้อเเล้วหรือไม่ หากยังไม่มี และ ไม่ได้เป็นพาหะไวรัสตับอัเสบ B ควรรับการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิป้องกัน ส่วนไวรัสตับอักเสบ C ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนฉีด แต่สามารถตรวจได้ว่าเราติดหรือไม่ ?

8) ศัลยเเพทย์ คือ เเพทย์ที่ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก ต้องใช้เวลาในห้องผ่าตัดในเเต่ละวันหลายชั่วโมง เป็นอีกหนึ่งสาขาที่ทำงานหนัก ถือเป็นผู้เสียสละเวลาและความสุขส่วนตัวเพื่อคนไข้อย่างแท้จริง

9) ไม่ควรไอ หรือ จามใส่หน้าใคร หรือทำในที่สาธารณะโดยไม่มีสิ่งป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัยหรือผ้าเช็ดหน้า กระดาาทิชชู่ เพราะนอกจากจะไม่สุภาพเเล้วยังเเพร่เชื้อโรคอีกด้วย โดยเฉพาะเชื้อหวัด และวัณโรค เราพบว่าเชื้อโรคที่มากับละอองที่ไปหรือจามออกไปนั้นฟุ้งกระจายได้หลายเมตรเลยทีเดียว

10) ห้อง ICU ย่อมาจาก Intensive Care Unit แปลว่า ห้องที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ต้องได้รับการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

11) การสื่อสารที่เข้าง่าย ชัดเจน ถูกต้อง และ ตรงไปตรงมา เป็นเครื่องมือที่สำคัญมาก ในการแนะนำ รักษา ระหว่างแพทย์กับคนไข้ อะไรที่เราไม่รู้ ไม่แน่ใจ ขอให้ถามหมอให้เข้าใจทุกครั้ง เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง

12) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือ ตรวจ Lab เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการวินิจฉัย รักษาของเเพทย์ มีนักเทคนิคการแพทย์เป็นปฏิบัติดูแลทุก ๆ การส่งตรวจ จึงเป็นอีกหนึ่งวิชาชีพที่สำคัญมากในการรักษา

13) การตรวจอวัยวะภายในของร่างกาย ในส่วนของปอด กระเพาะอาหารและลำไส้นั้น เบื้องต้นเราสามารถทราบได้จากการตรวจเอ็กซ์เรย์ปอดและการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารและลำไส้ (เเต่ต้องมีข้อบ่งชี้และสั่งโดยเเพทย์)

14) การอ่านหนังสือ เป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญมากในการศึกษาหาข้อมูลในการดูแลสุขภาพในยุคสมัยนี้ เราควรปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ไม่เอาเเต่รักการดู หรือ การฟังเพียงอย่างเดียว เพราะการอ่านทำให้เราเกิดสมาธิ เกิดกระบวนการคิดตามที่มีประสิทธิภาพ

15) เอ็กซ์เรย์ (X-rays) เป็นรังสีชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์มาเป็นระยะเวลานาน เพราะสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ในหลาย ๆ โรค โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับกระดูก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกโรคทุกอาการจำเป็นต้องเอ็กซ์เรย์หมด เเพทย์จะเป็นคนพิจารณาอีกที อย่าลืมว่ารังสีเอ็กซ์เรย์หากได้รับมาก ๆ บ่อย ๆ ก็ไม่ดี ควรโดนเมื่อจำเป็นต้องโดนเท่านั้น คนท้องห้ามโดนรังสีเอ็กซ์เรย์

16) เอ็กซ์เรย์เต้านม หรือ แมมโมแกรม (Mammogram) คือ การตรวจคัดกรองหามะเร็งเต้านม แนะนำให้ตรวจในผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม (เช่น แม่ พี่สาว น้องสาว เป็นต้น) ตามคำแนะนำของเเพทย์
.
17) โรคทางสตรีที่ต้องเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี นอกจากการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแล้ว ได้แก่ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (เพื่อดูมดลูก รังไข่)

18) การดูแลสุขภาพของเด็ก ๆ ที่ดี คือ การให้เค้าได้ทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ออกกำลังกาย วิ่งเล่นบ้างตามเหมาะสม รับวัคซีนป้องกันโรคครบถ้วนตามเกณฑ์ และ การให้ความรักความเอาใจใส่ที่ดีจากพ่อแม่ บุคคลอื่น ๆ ในครอบครัว

19) การทำกายภาพบำบัด (Physiotherapy : PT) เป็นการรักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกาย ภายหลังการเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเป็นโรค จะมีแพทย์เฉพาะทางสาขากายภาพบำบัด และนักกายภาพบำบัดเป็นผู้ดูแลรักษา

20) การเพาะเชื้อโรค (Microbial culture) คือ การนำสารคัดหลั่งในส่วนต่าง ๆ จากร่างกาย เลือด ปัสสาวะ เนื้อเยื่อ มาตรวจหาเชื้อโรคที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย บางครั้งหากเราได้ยินหมอพูดว่าต้องส่งเพาะเชื้อเราจะได้เข้าใจในจุดนี้

21) ยา คือ เครื่องมือการรักษาโรคที่สำคัญมาก ๆ ในยุคปัจจุบัน ควรกินเมื่อจำเป็นต้องกินจริง ๆ โดยมีแพทย์เป็นผู้จ่าย มีเภสัชกรเป็นผู้แนะนำ หากไม่จำเป็นก็ไม่ควรกิน เพราะ ไม่ใช่สิ่งดีต่อร่างกาย ยาทุกชนิดมีผลเสียต่อร่างกายหมด เพียงแต่ต้องชั่งน้ำหนักระหว่างผลดี ผลเสียในการใช้เท่านั้นว่าสมควรใช้หรือไม่ ?







 21 สาระน่ารู้ทางการเเพทย์

เครดิต :
แหล่งที่มา: ขอขอบคุณ RS

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์