ยาและสมุนไพรที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต


ยาและสมุนไพรที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไต

คนทั่วไปมักเข้าใจว่ายาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายเบื้องต้น เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบายแก้ท้องผูก ยาแก้ท้องเสีย วิตามิน อาหารเสริม รวมถึงยาจีนและสมุนไพรต่างๆ "เป็นยาที่ปลอดภัย"

เนื่องจากสามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่ในความจริงแล้วยาเหล่านี้อาจสะสมในร่างกาย หรือทำให้เกิดอันตรายต่อไตในผู้ที่มีโรคไตได้

 ยาแก้ปวดลดอักเสบเวลามีอาการปวดเมื่อย เช่น ibuprofen, diclofenac, celecoxib เป็นต้น ยากลุ่มนี้มีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้

ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่นๆ เช่น ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามินที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้รับประทาน อาจทำให้ร่างกายมีภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย

ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของสมุนไพร หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียม

ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถนำเอาเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติ

ยาระบายหรือยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟต

อาหารเสริมต่างๆ มักมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมซึ่งทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้

สมุนไพร เช่น สารสกัดใบแปะก๊วย (Ginko biloba) โสม (ginseng) กระเทียม (garlic) ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เกิดเลือดออกบริเวณเส้นเลือดที่ต่อกับเครื่องฟอกเลือดได้ง่าย ยาระบายที่มีส่วนผสมของสมุนไพรอาจทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียมได้

สมุนไพรหรือยาที่อ้างว่าทำให้ไตวายหายได้ทางอินเตอร์เนทหรือแชร์มาทาง LINE เท่าที่ผมมีประสบการณ์มาคือกินไปเดือนนึงจากไตปกติกลายเป็นไตวายต้องฟอกไตตลอดชีวิตหลายรายทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงสมุนไพร (ทั้งในรูปแบบแคปซูล ยาน้ำ ชาชง) ยาแผนโบราณ ยาจีนต่างๆ เนื่องจากทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง รวมทั้งยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจนในการชะลอการเสื่อมของไต

ความไม่สม่ำเสมอของปริมาณสารที่สกัดได้ การปนเปื้อนของสารระหว่างกระบวนการสกัด เช่น ปรอท เชื้อรา อาจเกิดอันตรายต่อไตอย่างรุนแรงได้

มีคำถามจากผู้ป่วยและญาติเสมอๆว่ายาสมุนไพรไม่ดีอย่างไร จริงๆแล้วยาสมุนไพรที่รักษาโรคดีๆนั้นมีมากแต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตแล้วการที่จะไม่ทำลายไตโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการทานยาที่ไม่ได้รับการสั่งจากแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่ดูไม่น่าจะคุ้มค่าเอาเลย

ภายในยาสมุนไพร หรือ ยาหม้อ ต่างๆมีส่วนผสมที่อาจทำให้ไตวายได้ในความเห็นของผมการที่เราระวังไว้น่าจะปลอดภัยกว่าเนื่องจากประโยชน์ที่ได้รับอาจไม่คุ้มค่าถ้าต้องแลกด้วยการล้างไตตลอดชีวิต

 



ยาและสมุนไพรที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต


ข้อควรปฏิบัติ

ญาติ ผู้ดูแล และผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งถึงรายการยา รวมทั้งวิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร ที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน

หากเจ็บป่วยผู้ป่วยโรคไตไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง

แจ้งแพทย์ถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวเพิ่ม ขาบวม หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตะคริว แขน-ขาชา ไม่มีแรง คันตามผิวหนัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด

สมุนไพรหรือยาที่อ้างว่าทำให้ไตวายหายได้ทางอินเตอร์เนทหรือแชร์มาทาง LINE เท่าที่ผมมีประสบการณ์มาคือกินไปเดือนนึง "จากไตปกติกลายเป็นไตวายต้องฟอกไตตลอดชีวิตหลายราย"


ยาและสมุนไพรที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต

Cr ข้อความบางส่วน จาก รพ.บำรุงราษฎร์

Cr ภาพจาก www.voicetv.co.th



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์