รู้ไหม?ทำไมอาหารถึงไม่ย่อย


รู้ไหม?ทำไมอาหารถึงไม่ย่อย

หลังกินอาหารหากใครมีอาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด อาจเป็นสัญญาณเตือนของภาวะอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ที่สร้างความทรมานให้กับร่างกาย ซึ่งแม้จะสามารถรักษาได้ แต่หากรู้เท่าทันย่อมสามารถป้องกันและรับมือภาวะนี้ได้อย่างถูกวิธี

แบบไหนเรียกอาหารไม่ย่อย

อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) เป็นอาการไม่สบายท้องบริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปีที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ช่วงระหว่างหรือหลังกินอาหาร ทำให้เกิดอาการอึดอัดไม่สบายท้องมีอาการหลายอย่างร่วมกัน บางคนอาจเป็นแค่บางครั้ง แต่บางคนอาจเป็นเรื้อรัง จึงไม่ควรละเลยเพื่อจะได้รักษาหรือปรับพฤติกรรมที่ถูกต้อง

ตัวการอาหารไม่ย่อย

ต้นเหตุของภาวะอาหารไม่ย่อยบางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ แต่โดยส่วนใหญ่มักเกิดจาก

1. พฤติกรรมการกิน เช่น กินเร็วไป กินมากไป กินอาหารมันๆ เผ็ด ๆ อาหารย่อยยาก ดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ ฯลฯ

2. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เครียด กังวล สูบบุหรี่ ฯลฯ

3. น้ำหนักเกินหรือมีโรคอ้วน แรงดันในช่องท้อง จะเพิ่มขึ้น

4. คุณแม่ตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเปลี่ยน มดลูกขยายขนาด เพิ่มแรงกดในช่องท้อง

5. ใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงกับระบบย่อย อาหาร เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ

6. ปัญหาสุขภาพ เช่น แผลในกระเพาะอาหารหรือ ลำไส้เล็ก กรดไหลย้อน นิ่วในถุงน้ำดี แพ้กลูเตน ฯลฯ

7. อื่น ๆ เช่น ฮอร์โมน กรรมพันธุ์ ฯลฯ

อาการต้องตรวจเช็ค

อาการที่บ่งบอกภาวะอาหารไม่ย่อยอาจมี เพียงอย่างเดียวหรือหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่

1. จุกเสียด แน่นท้อง

2. ปวดท้องส่วนบน บริเวณยอดอกหรือใต้ลิ้นปี

3. ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลมในท้อง

4. อิ่มเร็วเมื่อกินอาหารได้ไม่นาน

5. แสบร้อนกลางทรวงอกบริเวณระหว่างกระดูกหน้าอกกับสะดือ

6. คลื่นไส้ เรอ อาเจียน

ดูแลรักษาให้ถูกวิธี

การดูแลรักษาภาวะอาหารไม่ย่อยต้องรักษาที่ต้นเหตุตามลักษณะอาการที่เป็น สามารถทำได้ด้วยการกินยาลดกรดตามคำแนะนำของเภสัชกรอย่างละเอียด เพราะยาแต่ละชนิดเหมาะกับอาการที่แตกต่าง กัน แต่หากภาวะอาหารไม่ย่อยเกิดจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ควรปรึกษาแพทย์เพื่อลดและปรับการใช้ยา นอกจากนี้หากเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หรือมีอาการในลักษณะเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อทำการ รักษาทันที

อาหารไม่ย่อยป้องกันได้

1. เลียงอาหารไขมันสูง อาหารทอด อาหารรสจัด อาหารสำเร็จรูป

2. กินให้ตรงเวลาทุกมือ งดอาหารมื้อใหญ่ช่วงดึก ควรกินมื้อเย็นก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

3. เคี้ยวอาหารให้ละเอียด อย่ารีบกิน อย่ากินปริมาณมากเกินไป

4. งดสูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของโซดา

5. ลดน้ำหนัก เลี่ยงภาวะอ้วนลงพุง ออกกำลังกายเป็นประจำ

6. ไม่เครียด รู้จักหาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น ท่องเที่ยว ดูหนังฟังเพลง ทำสมาธิ ฯลฯ

การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเป็นสิ่งที่ดีกว่าที่จะต้องมารอให้เกิดปัญหาแล้วค่อยแก้ ดังนั้น มารักษาสุขภาพกันก่อนที่จะสายเกินไปดีกว่า

ที่มา : SOOK Magazine No.73


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์