ไอเรื้อรัง แค่ป่วย...หรือเสี่ยง “มะเร็งปอด” กันแน่นะ!


ไอเรื้อรัง แค่ป่วย...หรือเสี่ยง “มะเร็งปอด” กันแน่นะ!

อาการไอ..ที่ใครหลายคนมักมองข้าม บางครั้งปล่อยให้เรื้อรังนานนับสัปดาห์ เพราะคิดว่าคง “แค่ป่วย” ธรรมดาทั่วไป แต่จริงๆ แล้ว อาการไอเรื้อรังยังเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือน “โรคมะเร็งปอด” อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้แบบนี้...เห็นทีต้องหันมาใส่ใจกับอาการไอเรื้อรังที่เป็นอยู่แล้วล่ะ?

อาการเตือน "มะเร็งปอด" ไม่ได้มีแค่ไอเรื้อรังนะ!!

นอกจากอาการทางปอด อย่าง อาการไอ ไอมีเสมหะ ไอเป็นเลือด เหนื่อย เจ็บหน้าอก ในบางรายอาจมีอาการทางมะเร็ง เช่น เพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือหากเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ก็อาจมีอาการอื่นร่วม เช่น

- ไปที่ต่อมน้ำเหลือง จะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต บางคราวอาจอุดหลอดเลือด..
ที่พบบ่อย คือ อุดหลอดเลือดดำที่คอทำให้เลือดคั่งบวมที่หน้า
- ไปที่เยื่อหุ้มปอด ทำให้มีน้ำในช่องเยื่อบุหุ้มปอด (Pleural Effusion)
- ไปที่สมอง ทำให้ปวดศีรษะ ชัก อัมพาต ซึม หมดสติ
- ไปที่กระดูก จะมีอาการปวดกระดูก กระดูกหัก
- ไปที่ตับ ก็จะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง

ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่เรียกว่า Paraneoplastic Syndrome ซึ่งเรายังไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการพวกนี้แน่นอน เช่น มีไข้หนาวสั่น ปวดข้อและกล้ามเนื้อ ข้อบวม ระดับแคลเซียมในเลือดสูง และระดับฮอร์โมนบางตัวในเลือดสูง อาการเหล่านี้จะหายไปถ้าเราตัดก้อนมะเร็งออกไป และถ้าโรคกลับมาอาการก็จะกลับมาใหม่ได้

ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยง
"มะเร็งปอด"ประมาณ 80% ของมะเร็งปอด..เกิดในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งสูบวันละมากๆ และสูบมานานก็ยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้น รวมไปถึงผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่เป็นประจำ

มะเร็งปอด...สามารถตรวจคัดกรองได้ไหม?  ปัจจุบันยัง "ไม่มีวิธีตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่มีประสิทธิภาพ" (การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง) ให้พบโรคได้ตั้งแต่ในระยะเริ่มเป็น ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้เมื่อตรวจพบ โรคมะเร็งปอดก็มักลุกลามแล้ว รวมทั้งในระยะที่ 1-2 ก็ยังไม่มีอาการของโรคที่แน่ชัด

 ใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยง "มะเร็งปอด"

มีบางการศึกษาพบว่า การตรวจภาพปอดด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดใช้ปริมาณรังสีต่ำ (รังสีที่ใช้ตรวจและรักษาโรค) เป็นระยะๆ ในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง (ผู้ที่สูบบุหรี่) อาจช่วยตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอดได้.. แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป เพราะการตรวจให้ผลผิดพลาดได้สูง อาจต้องทำการผ่าตัดปอดเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา ซึ่งเป็นการเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการผ่าตัดโดยไม่จำเป็น และค่าใช้จ่ายในการตรวจในภาพรวมยังสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ

มะเร็งปอด นับว่าเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อย และโอกาสในการตรวจพบระยะแรกมีน้อย “การใส่ใจดูแลสุขภาพ” จึงเป็นอีกการป้องกันที่สำคัญ และหากมีอาการผิดปกติก็ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนโรคลุกลามจนอันตรายถึงชีวิต

เครดิตแหล่งข้อมูล : phyathai.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์